กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – ทีม ‘Silapatech’ คว้าชัยชนะจากโครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ” ปีที่ 4 โครงการการประกวดแข่งขันนวัตกรรมเพื่อสังคมที่จัดขึ้นโดยนิสสัน ประเทศไทย และพันธมิตรมากมาย ด้วยผลงานต้นแบบ ‘Soundawearดีไวส์อัจฉริยะ ที่จะเปลี่ยนเสียงต่าง ๆ เป็นการสั่นสะเทือนที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สามารถรับรู้ และตอบสนองต่อเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงเตือนสถานการณ์อันตรายจากจุดที่อับสายตา อย่างเสียงแตรรถจากทางด้านหลังได้อย่างทันท่วงที รวมถึงยังขยายประสาทสัมผัส (sense) ให้พวกเขาสามารถรับรู้ถึงท่วงทำนองของบทเพลง และได้รับความเพลิดเพลินเหมือนคนทั่วไป สำหรับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม ‘GreenDot.’ กับผลงานแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชัน GreenDot. (กรีนดอท) ที่จะเป็นตัวกลางในการวิเคราะห์ความสามารถในการกำจัดคาร์บอนตามธรรมชาติของต้นไม้ ทั้งต้นไม้สาธารณะ ต้นไม้เอกชน และป่า ในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศไทย เพื่อการออกแบบ วางแผน และลงมือจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และอันดับที่ 3 ทีม ‘กาชาปองสุราษฎร์ธานี’ กับผลงาน ‘Gacha Thani’ ที่ช่วยพัฒนาประสบการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย ผ่านของที่ระลึกอย่างงานหัตถกรรมพื้นถิ่นในรูปแบบกาชาปอง และแอปพลิเคชันที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสานภาพสามมิติ ที่ช่วยให้ชุมชนสามารถนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว เรื่องราวที่น่าสนใจ และโปรโมทสิ่งที่น่าสนใจเสมือนมีดิจิทัลไกด์ไปด้วยทุกที่

หลังจากที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดได้เข้าร่วมหลักสูตรบ่มเพาะพัฒนาไอเดีย การเป็นนวัตกร ผ่านแฮกกาธอน (Hackathon) ในรูปแบบระบบดิจิทัลนานกว่า 3 เดือน  จนนำมาสู่ผลงานต้นแบบทั้ง 12 ผลงาน ซึ่งจะกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งยังเป็นส่วนช่วยผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็นสังคมแห่งนวัตกรรมได้ในอนาคต

โดยในปีนี้ โครงการฯ มีผู้เข้าร่วมคัดเลือกกว่า 337 ทีม รวมผลงานส่งประกวดกว่า 187 ผลงาน ก่อนที่จะคัดเลือกให้เหลือ 12 ทีมสุดท้าย จากการพิจารณาของคณะกรรมการและผลโหวตออนไลน์ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาโหวตได้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา

สำหรับโครงการในปีที่ 4 นี้ ทางนิสสัน ได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในวงกว้าง มาเป็นหัวใจสำคัญในการประกวด โดยได้ร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนชั้นนำมากมาย เพื่อส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ ที่สามารถพัฒนาศักยภาพ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนวัตกรไทยรุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผ่านโซลูชั่นต่าง ๆ ที่พัฒนามาจากผลงานต้นแบบของแต่ละโครงการนวัตกรรม รวมถึงยังสามารถนำมาแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงตามแต่ละบริบท

สำหรับจุดเด่นของโครงการฯ ที่แตกต่างจากการประกวดอื่น ๆ คือการจัดกิจกรรมเพาะบ่มนวัตกรและแฮกกาธอนผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบพื้นฐานและกระบวนการสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคม จากผู้เชี่ยวชาญอย่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. (NIA) นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีต่าง ๆ จากองค์กรไอทีชั้นนำระดับโลกอย่าง ไมโครซอฟท์ (Microsoft) อาทิ ระบบคลาวด์อัจฉริยะ (Azure) ฯลฯ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทุกทีมสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคดิจิตอลอย่างราบรื่น รวมถึง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส - AIS) ผู้สร้างสรรค์เทคโนโลยี  และแพลตฟอร์มฟาร์มอัจฉริยะ Intelligent Farm (iFarm) โดยผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 12 ทีม จะได้เข้ากิจกรรมดังกล่าวเพื่อร่วมกันพัฒนาผลงานต้นแบบให้ออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด

“ผมขอแสดงความยินดีกับทีมผู้ชนะ ทีม ‘Silapatech’ รวมถึงผู้เข้ารอบสุดท้ายทุกคนที่ได้นำเสนอผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ปัญหาของสังคมในมุมที่แตกต่างกันอย่างเต็มที่” ชยภัค ลายสุวรรณ ผู้จัดการทั่วไป สายงานการสื่อสาร นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กล่าว “การจัดโครงการในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการทุกอย่างของนิสสัน ที่เรากล้าที่จะเอาชนะทุกข้อจำกัด และทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ โดยผมรู้สึกประทับใจอย่างมากกับทุกแนวคิด ทุกความตั้งใจ ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 12 ทีม ที่สื่อออกมาอย่างชัดเจนผ่านผลงานคุณภาพ ซึ่งผมเชื่อว่าจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ และ็มทพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน และส่งผลเชิงบวกในวงกว้าง ตลอดจนขับเคลื่อนสังคมให้ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีผู้ชนะเลิศ ‘Silapatech’

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีผู้ชนะเลิศ ‘Silapatech’

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีผู้ชนะเลิศ ‘Silapatech’

Silapatech เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเสพศิลปะ และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการได้ยิน เริ่มจากการตั้งคำถามถึงการรับรู้ การเสพงานศิลปะชนิดเสียงของพวกเขา ผ่านการศึกษา อย่างถี่ถ้วน Silapatech คิดค้นตัวต้นแบบเป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถ รับรู้เสียงผ่านการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนผ่านผิวหนัง

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ Silapatech ต้องการสร้างคือ การสร้างความสะดวกสบาย ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการได้ยิน รวมถึงการสร้างการเข้าถึงความบันเทิงของการเสพดนตรีของผู้บกพร่องทางการได้ยิน

“โดย Soundawear นี้จะทำหน้าที่ 3 อย่าง ได้แก่ 1) ช่วยเตือนภัยอันตรายจากเสียงเตือนต่าง ๆ เช่น เสียงบีบแตรรถที่ขับไล่หลังผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นจุดอับสายตา 2) ทำหน้าที่เสมือนนาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch) ที่ทำหน้าที่เตือนเมื่อมีสัญญาณโทรเข้า-ออก หรือข้อความต่าง ๆ 3) สร้างการเข้าถึงความบันเทิงผ่านการเสพดนตรีของผู้บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งในข้อที่สามนี้ ทางทีมได้พัฒนามาจากอินไซต์ที่พบเจอในช่วงการพัฒนานวัตกรรมว่าจริง ๆ แล้วผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินก็เสพงานดนตรีเช่นกัน แต่จะเสพผ่านแรงสั่นสะเทือนจากการเปิดเสียงหูฟังดัง ๆ หรือการยืนใกล้ ๆ กับลำโพง เวลาร่วมงานคอนเสิร์ต แล้วเพื่อให้สัมผัสถึงแรงสั่นสะเทือนที่มากระทบร่างกาย ไปพร้อมกับการรับชมภาพบรรยากาศตรงหน้า” ชญานนท์ กล่าวเพิ่มเติม

ในส่วนของการพัฒนานวัตกรรมในระยะต่อไป ทางทีมมองว่าอาจต้องทำควบคู่กันไปทั้งในส่วนการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ที่ต้องออกแบบตามแนวคิดที่ยึดหัวใจของผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (Human-centric design) เพื่อให้ตอบสนองผู้ใช้ทั้งในแง่การใช้งาน (Functional) อาทิ การเพิ่มฟังก์ชันเปิด-ปิดแสง-สี ประกอบการสั่น เมื่อผู้ใช้ต้องเข้าสังคมกับกลุ่มคนหมู่มาก เพื่อไม่ให้เป็นจุดสนใจมากเกินไป และการใช้งานด้านอารมณ์ (Emotional) ที่ต้องออกแบบอุปกรณ์ให้ดูทันสมัย ไม่ใหญ่จนเกินไป จนผู้สวมใส่เกิดความรู้สึกภูมิใจขณะใช้งาน ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาซอฟท์แวร์ให้ดียิ่งขึ้น อาทิ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ด้วยการป้อนชุดข้อมูลเสียงในสถานการณ์จริงต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอาจต่อยอดจนสามารถฟังเสียงพูดของคน และเปลี่ยนเป็นภาษาการสั่นที่แตกต่างกัน เช่น การสั่นเมื่อมีคนเรียกชื่อ ฯลฯ รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ออกแบบให้ผู้สวมใส่สามารถเรียนรู้แพทเทิร์นการสั่นต่าง ๆ ก่อนสวมใส่ในชีวิตประจำวัน

“จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ จะเห็นว่าทางทีมต้องหาพาร์ทเนอร์เข้ามาช่วยหลากหลายด้านมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนาอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ หรือองค์กรผู้ที่ทำงานงานวิจัยด้านเสียงมาเพื่อเพิ่มศักยภาพของ Soundawear ไปด้วยกัน รวมถึงการหาเงินทุนเพื่อพัฒนาต่อไป โดยนอกจากเงินรางวัลกว่า 300,000 บาทที่ได้จากโครงการ ‘แค่ใจก็เพียงพอ’ ในครั้งนี้แล้ว เวทีนี้ยังช่วยเปิดโอกาสให้ผลงานของเราปรากฏสู่สายตาประชาชนหรือองค์กรชั้นนำที่จะเป็น Angel Investor ให้เราด้วย โดยล่าสุด ทาง สนช. หนึ่งในองค์กร

พาร์ทเนอร์ที่จัดโครงการฯ นี้ได้เห็นศักยภาพของนวัตกรรมของพวกเรา และได้ติดต่อเพื่อสนับสนุนเงินทุนรวมกว่า 1.5 ล้านบาท ซึ่งโอกาสดี ๆ แบบนี้ หาไม่ได้ง่าย ๆ ฉะนั้นจึงขอแนะนำให้นวัตกรรุ่นใหม่ที่มีไอเดียต้องห้ามพลาดที่จะสมัครโครงการ ‘แค่ใจก็เพียงพอ’ ในปีถัดไปเด็ดขาด” ปวิมล กล่าว

สำหรับผลงาน ‘Soundawear’ ของทีมผู้ชนะ ‘Silapatech’ มีนวัตกรรุ่นใหม่ผู้พัฒนานวัตกรรมอยู่ 2 คน ได้แก่ ปวิมล สามเสน ผู้ทำหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ผู้สวมใส่ และชญานนท์ ต.เจริญ วิศวกรของทีมที่ทำหน้าที่ออกแบบซอฟท์แวร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการรวมตัวของ ‘ศาสตร์’ และ ‘ศิลป์’ ที่ลงตัว

โดย นางสาวปวิมล ตัวแทนจากทีม ‘Silapatech’ กล่าวว่า “ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทางนิสสัน ประเทศไทย และทีมผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน โดยเฉพาะที่ปรึกษาของกลุ่ม อาจารย์ ดร. ศิญาณี หิรัญสาลี อาจารย์วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีส่วนช่วยให้เราประสบความเร็จในวันนี้ เพราะผลงานต้นแบบ ‘Soundawear’ ชิ้นนี้เกิดจากไอเดียที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงกระบวนแฮกกาธอนของโครงการ ที่ช่วยเพิ่มความรู้และมุมมองในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมให้กับพวกเรา จนเรียกว่าพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือจริง ๆ โดยจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมชิ้นนี้เกิดจากที่เราได้ไปเห็นน้อง ๆ ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเล่นอังกะลุงได้อย่างไพเราะ ผ่านการจับสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากอังกะลุง ที่มีขนาดและเสียงสูง-ต่ำที่แตกต่างกัน จนเกิดเป็นไอเดียว่า ‘แรงสั่นสะเทือน’ นี่แหละ ที่สามารถเป็นประสาทสัมผัสที่หก (sense) ที่ทำให้ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเสพดนตรี และรับรู้ถึงเสียงจากการสื่อสารต่าง ๆ ได้อีกครั้ง”

ด้วยไอเดียดังกล่าว ทางทีมได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรับรู้นี้ให้มากขึ้น จนได้เป็นนวัตกรรมที่ชื่อว่า ‘Soundawear’ สมาร์ทดีไวส์ของผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน ที่จะเปลี่ยนคลื่นเสียงที่รับรู้ได้ทางหู มาเป็นการสัมผัสผ่านการสั่นสะเทือนที่รับรู้ได้ทางผิวหนัง ด้วยการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง หรือ Machine Learning ที่จะทำหน้าที่จดจำ เรียนรู้ เสียงต่าง ๆ ในสถานการณ์จริง และการออกแบบอุปกรณ์สวมใส่ (Hardware) ที่เหมาะสมกับการรับรู้การสั่นสะเทือนที่แม่นยำ ซึ่งจะช่วยจำแนกและแปลงเสียงเป็นแรงสั่นสะเทือน รวมถึงแสง-สี บนจุดสัมผัสของอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ตามความหมายและแพทเทิร์นในการสั่นที่ถูกออกแบบเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนการออกแบบแต่ละจุดสัมผัส ได้มีการคำนวนและทดสอบกับผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินแล้วว่ามีจำนวนและการวางตำแหน่ง และความแรงของการสั่นสะเทือนที่เหมาะสม จนสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างกันในแต่ละจุดตามความหมายของเสียงที่อย่างแท้จริง

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘GREENDOT.’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘GREENDOT.’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘GREENDOT.’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

GreenDot. จะทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกันในการดูแลและส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของตัวกำจัดคาร์บอนตามธรรมชาติ (Nature-Based carbon Removal approaches) ผ่านแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ความสามารถกำจัดคาร์บอนตามธรรมชาติ ที่จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณการความสามารถการกำจัดคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ (ต้นไม้สาธารณะ ต้นไม้เอกชน ป่า) เพื่อให้หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนได้ดูแลออกแบบหรือวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อมร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป้าหมายเดียวของ GreenDot. คือ“อยากให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทีม ‘กาชาปองสุราษฎร์ธานี’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทีม ‘กาชาปองสุราษฎร์ธานี’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทีม ‘กาชาปองสุราษฎร์ธานี’ รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

กาชาปองสุราษฎร์ธานีอยากที่จะเป็นสื่อกลาง ให้คนมาเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ฯ โดยการจัดกิจกรรมพิชิตสุราษฎร์ ให้ผู้คนได้รับความรู้ความสนุก และประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่โดยนำความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับเทคโนโลยี เพื่อให้ Social Innovation ช่วยเพิ่มคุณค่าของงาน สร้างความสนใจให้แก่นักท่องเที่ยวและสร้างเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่คนสุราษฎร์ธานี โดยการนำเอาความทรงจำ ความภูมิใจของคนในจังหวัดมาเล่าผ่านรูปแบบของที่ระลึกที่เป็นงานหัตกรรมผลิตโดยชุมชน ถูกบรรจุในรูปแบบกาชาปอง และพัฒนาแอปพลิเคชัน ให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมกับภาพ 3 มิติ ที่สามารถเล่นกับของที่ระลึกจากชุมชน ในการบอกเล่าเรื่องราว และนำทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยมีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ห้ามพลาด พร้อมมีไกด์เสมือนจริงคอยให้ความรู้ในสถานที่ท่องเที่ยวนั้น และยังมีการเชื่อมโยงส่งเสริมการตลาดกับผู้ประกอบการในพื้นที่ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก ร้านขายของที่ระลึก วิสาหกิจชุมชน ในการเพิ่มส่วนลด หรือโปรโมชันพิเศษแก่นักท่องเที่ยว และยังเชื่อมโยงกับการขายสินค้าชุมชนแบบออนไลน์ ขายแพคเกจทัวร์และที่พัก รวมถึงการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวดังกล่าวนี้ จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักท่องเที่ยวเดินทางมายังจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จำนวนมาก ให้มีความรักและชื่นชอบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัด อีกทั้งยังได้อุดหนุนเกิดการจ้างงาน กระจายรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ในเวลาเดียวกันอีกด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ

สำหรับโครงการแค่ใจก็เพียงพอ โดยนิสสัน ประเทศไทย เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยในปีแรก ทางบริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ บริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัด และบริษัท เมนทาแกรม จำกัด (โกโปร) เพื่อนำเสนอบุคคลต้นแบบ 10 ท่านในหลากหลายสาขาอาชีพ ซึ่งล้วนดำเนินรอยตามปรัชญา คำสอน และกิจกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรตลอดรัชสมัย ก่อนจะสานต่ออย่างต่อเนื่องในปีที่ 2 ผ่านกิจกรรมที่ได้ร่วมงานกับ อาจารย์จารุพัชร        อาชวะสมิต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมด้วยนักศึกษากว่า 70 คน จากภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ที่ช่วยสร้างมูลค่าจากสิ่งของเหลือใช้จนสามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นภายในชุมชนได้อย่างยั่งยืน สำหรับโครงการปีที่ 3 ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2562 ทาบริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันนำเสนอแผนงานสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยกล้าคิด และกล้าลงมือทำนวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะได้อย่างยั่งยืน โดยทีม 'มิตร' ทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในปีนั้นไปครอง ด้วยผลงานอิฐบล๊อกเรืองแสงจากเปลือกหอยนางรม ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ชุมชนบ้านตะกาดเง้าในจังหวัดจันทบุรี

โครงการที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งการันตีที่ช่วยตอกย้ำความตั้งใจของนิสสัน ที่มุ่งมั่นสนับสนุนสังคมไทยมาโดยตลอด ผ่านการสนับสนุนการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการทำงานในฐานะที่ปรึกษาร่วมกับ พันธมิตรชั้นนำทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวาง รวมถึงยังมีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาร่วมกันพัฒนาชุมชน และขับเคลื่อนสังคมต่อไปในระยะยาวอย่างยั่งยืน

ด้วยกิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรรมผ่านทางระบบออนไลน์กว่า 5 ครั้ง นิสสันได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้โครงการในครั้งนี้ สามารถดึงศักยภาพ และสร้างความก้าวหน้าให้กับผลงานต้นแบบของทุกทีมได้อย่างแท้จริง ด้วยการให้ความรู้ในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคม จาก สนช. หลักสูตรเพื่อเสริมองค์ความรู้ด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสร้างเรื่องราว (Storytelling) เพื่อนำไปสู่การรับรู้ ยอมรับ และนำไปใช้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน จากสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย พร้อมกันนี้ ผู้เข้าแข่งขันยังมีโอกาสรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอาชีพที่มีประสบการณ์ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และด้านธุรกิจ อย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (​องค์การมหาชน) หรือ สนช. (NIA) กล่าวว่า “สนช. มีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรการอบรม และการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวงการ ส่งผลให้ผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้ง 12 ทีม สามารถต่อยอดผลงานของตนเองได้อย่างครอบคลุมและตรงจุด ทีมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการธุรกิจอยู่แล้ว ทางทีมผู้เชี่ยวชาญก็จะเสริมความรู้และแนวคิดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม การออกแบบที่มุ่งเน้นที่ยึดความต้องการของมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (human-centric design) รวมถึงการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต้นแบบให้เกิดขึ้นได้จริง ในขณะที่ทีมที่มีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมหรือเทคโนโลยี ก็จะเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทางการเงิน การพัฒนาแผนธุรกิจ ตลอดจนการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ หากทีมใดมีความพร้อมที่จะต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมอย่างจริงจัง สนช. ก็มีกลไกที่พร้อมสนับสนุนทั้งด้านเงินทุน องค์ความรู้ และเครือข่ายนวัตกรรม เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้จริงในอนาคต”

ชนิกานต์ โปรณานันท์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานการตลาดและปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ไมโครซอฟท์เราเชื่อมั่นในความสามารถของทุกคน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้มีความสามารถสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นและประสบความสำเร็จมากขึ้น เราได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนพวกเขาในหลายรูปแบบ ไมโครซอฟท์รู้สึกขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการประจำปีของนิสสัน ในนามของไมโครซอฟท์ขอแสดงความยินดีกับผู้ชนะทุกคน โปรแกรมนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่ความสำเร็จ”

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานแผนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม โครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ” ของผู้ชนะและทีมผู้เข้ารอบสุดท้ายทีมอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่ทางเว็บไซต์ แค่ใจก็เพียงพอ.com หรือทางเฟซบุ๊กเพจ แค่ใจก็เพียงพอ by Nissan และอินสตาแกรม

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ nissan.co.th, Facebook, Instagram, Twitter และ  YouTube

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การบริการ และความมุ่งมั่นในการนำเสนอยานยนต์เพื่อความยั่งยืน สามารถติดตามได้ที่ nissan-global.com, Facebook, Instagram, Twitter, LinkedIn และรับชมวีดีโอล่าสุดที่ YouTube